เสียงขอบคุณจากผู้ใช้มะโฮ เบต้ากลูแคน(beta 1,3-1,6 glucan)

หมอนรองกระดูกแตก โรคภูมิแพ้ รักษาทางเลือกจาก มะโฮ เบต้ากลูแคน : คุณศรัญญ์ยา

คุณศริญญ์ยา อายุ 42 ปี เป็นโรคหมอนรองกระดูกแตก โรคกระเพาะ และภูมิแพ้ เคยได้รับอุบัติเหตุก้นกระแทก แพทย์บอกว่าให้ผ่าตัด แต่ไม่ยอมเพราะจะไม่สามารถยกของหนักได้ จึงใช้วิธีรักษากายภาพบำบัด และกินยารักษาโรคหมอนรองกระดูกและภูมิแพ้ cpm(คลอร์เฟนิรามีน) 8 เม็ด !! รวมทั้งอาหารเสริมต่างๆ ทำให้อาการดีขึ้นแต่ได้ผลในช่วงระยะเวลาสั้น พอมาช่วงหลังอาการเริ่มเป็นหนักและไม่ได้ผล หลังจากนั้นได้รู้จักมะโฮ จากคุณปู ช่างเสริมสวยเจ้าประจำให้มาลองทาน1 กล่อง ทำให้สังเกตว่า อาการปวดในกระดูกจากโรคหมอนรองกระดูกแตก หายไป ภูมิแพ้ก็ค่อยๆดีขึ้น และไม่ทรมานตอนจะนอน จากเมื่อก่อนที่นอนหลับ พักผ่อนไม่ค่อยเพียงพอ
คุณสามารถดูปัญหาของคนอื่นๆได้ จากประสบการณ์ที่ใช้ มะโฮ เบต้ากลูแคน เพิ่มเติมตรงนี้ครับ

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท(Herniated Disc)  

เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลังถูกทำลายจนเสียหาย ตั้งแต่กระดูกสันหลังส่วนคอ กระดูกสันหลังส่วนกลางและกระดูกสันหลังส่วนล่างหรือเอว ทั้งหมด 24 ชิ้นเชื่อมกันด้วยเนื้อเยื่อ มีลักษณะเป็นแผ่นกลมเรียกว่าหมอนรองกระดูก ด้านในหมอนรองกระดูกจะมีลักษณะนุ่มเหนียว ส่วนด้านนอกแข็ง หมอนรองกระดูกจะช่วยให้หลังมีความยืดหยุ่นขณะเคลื่อนไหวและป้องกันกระดูกจากการกระแทกจากทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เดิน ยกของ  แบกของหรือบิดตัวไป-มา
หากมีเหตุให้ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือกระดูกเสื่อมเอง มีผลให้หมอนรองกระดูกแตก และกระดูกอ่อนที่อยู่ภายในจะโผล่ออกมา หากเคลื่อนไปทับเส้นประสาทจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวด อ่อนแรง หรือชา เป็นที่มาของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งอาการของโรคที่รุนแรงมากๆ ส่วนใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด โดยส่วนมากจะมีผลข้างเคียงตามมา อย่างไรก็ควรปรึกษาศัลยแพทย์อย่างละเอียด

อาการของโรค หมอนรองกระดูกแตก

ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณที่ถูกกดทับเส้นประสาท เมื่อมีอาการไอ จาม หากทับเส้นที่คอจะรู้สึกเจ็บมากบริเวณไหล่ แขน หากทับเส้นประสาทไซอาติก(Sciatic Nerve)จะรู้สึกตั้งแต่ด้านหลังบริเวณเชิงกราน ก้น  สะโพก ลงไปถึงขา น่องและเท้าทั้งสองข้าง โดยจะเจ็บเล็กน้อยจนกระทั่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการชาหรือเสียวแปล๊บ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย รู้สึกแสบร้อน กล้ามเนื้ออ่อนแรง บริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ หากกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยมักจะหยิบ จับหรือถือของไม่ถนัด หากรุนแรงขึ้นอาจไม่สามารถยกของหรือถือของได้เลย  นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดร้าวที่ขาลงไปเมื่อต้องเดินแค่ระยะทางสั้นๆ และอาการจะแย่ลงเมื่อถึงตอนกลางคืน การเคลื่อนไหวบางท่า เช่น ลุกขึ้นยืน, นั่งลง เป็นต้น

สาเหตุของโรค หมอนรองกระดูกแตก

เกิดจากส่วนนอกของหมอนรองกระดูกแตก ทำให้กระดูกอ่อนที่อยู่ข้างในโผล่ ยื่นออกมาไปกดทับเส้นประสาทตามจุดต่างๆ  เป็นสาเหตุให้เกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม อาจมาจากเมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกก็จะสูญเสียมวลน้ำ ส่งผลให้ขาดความยืดหยุ่นและแตกได้ง่าย ไปกดทับเส้นประสาท หรือมีปัจจัยอื่นๆ เช่น
  • น้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้กระดูกสันหลังบริเวณส่วนล่างต้องแบกรับน้ำหนักตลอดเวลา
  • ผู้ใช้แรงงานหรือผู้ที่แบก ยก ถือของหนักเป็นประจำ เพราะต้องใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขา อาจส่งผลให้กระดูกบิดและเคลื่อนได้
  • ผู้ป่วยบางรายอาจป่วยเพราะเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การประสบอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บบริเวณหลัง สามารถป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกแตกได้
  • การสูบบุหรี่ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ ส่งผลให้หมอนรองกระดูกสูญเสียความยืดหยุ่น

ภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นระยะเวลานานและปล่อยให้อาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อาจส่งผลให้เส้นประสาทถูกทำลายถาวรได้  โดยทั่วไปแล้วไขสันหลังไม่ได้มีเพียงเส้นเดียวตลอดแนวโพรงกระดูกสันหลัง นับตั้งแต่บั้นเอวลงไปจะมีไขสันหลังที่แตกออกเป็นหลายเส้นคล้ายหางม้า จึงเรียกว่า รากประสาทหางม้า(Cauda Equina) หากรากประสาทหางม้าถูกกระดูกกดทับจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตได้  เพราะฉะนั้นหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบจัดการ
  • ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ ปวด ชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ อาการป่วยแย่ลง 
  • ผู้ป่วยที่รากประสาทหางม้าถูกกดทับจะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือการปัสสาวะเป็นไปอย่างยากลำบากทั้งๆที่รู้สึกปวดปัสสาวะมาก หรือการขับถ่ายทำงานผิดปกติ จะไม่สามารถควบคุมได้
  • ผู้ป่วยที่รากประสาทห้างม้าถูกกดทับจะสูญเสียการรับรู้ รู้สึกชาบริเวณรอบทวารหนัก โดยอวัยวะที่สัมผัสกับทวารหนัก ได้แก่ ต้นขาด้านใน ด้านหลังของขาและบริเวณรอบๆ ลำไส้

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกแตกในปัจจุบัน

ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของผู้ป่วย อาการและตำแหน่งที่หมอนรองกระดูกเคลื่อน โดยวิธีการรักษานั้นมีหลายวิธี
  • รักษาด้วยยาเพื่อบรรเทาอาการของโรคตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อยจนกระทั่งปวดอย่างรุนแรง หากปวดเล็กน้อยสามารถซื้อยาทานเองได้ เป็นกลุ่่มยาแก้ปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซน เป็นต้น หากอาการไม่ดีขึ้นเลยแพทย์จะสั่งจ่ายยาแก้ปวดชนิดเสพติด(Narcotics)ให้รับประทาน เช่น โคเดอีน หรือพาราเซตามอลที่ผสมสารสังเคราะห์ออกซิโคโดน ซึ่งแพทย์จะเป็นคนสั่งจ่ายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงจากยาคือ ง่วง คลื่นไส้ มึนงง และท้องผูกได้ หากผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวที่ สะโพก ก้น หรือขา แพทย์จะสั่งจ่ายยาในกลุ่มที่รักษาอาการซึมเศร้า หรือยากันชัก ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ทุกรายและไม่ควรรักษาในระยะยาว หากผู้ป่วยที่ปวดที่เส้นประสาทไซอาติก(Sciatic Nerve) จะได้รับการฉีดสเตียรอยด์จากแพทย์ โดยแพทย์จะฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณหลังส่วนล่างหรือบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง ก็จะช่วยลดการอักเสบและอาการปวดที่เส้นประสาท ซึ่งจะบรรเทาอาการปวดจะลงได้ในช่วงหนึ่งเท่านั้น อาจไม่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้เต็มที่นัก  และยาอีกตัวคือยาคลายกล้ามเนื้อ ที่แพทย์จะจ่ายให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยจะให้รับประทาน 2-3 วัน เพื่อรักษาอาการนั้น
  • รักษาด้วยการผ่าตัด หากผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย หรือปัสสาวะได้ มีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ยืนลำบาก ผู้ป่วยมีอาการนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป แพทย์จะเป็นคนผ่าตัดเพื่อนำหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนหรือส่วนที่ยื่นกดทับเส้นประสาทออกไป ซึ่งมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละบุคคล หลังการผ่าตัดจะช่วยลดอาการเจ็บปวดที่ขา แต่ไม่ช่วยอาการปวดในบริเวณหลังเท่าไหร่นัก โดยผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงาน ใช้ชีวิตได้ปกติหลังพักฟื้นเป็นเวลา 2-8 สัปดาห์  อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงจากการผ่าตัดอาจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ เส้นประสาทถูกทำลาย เป็นอัมพาต เลือดออกมาก ควบคุมการขับถ่ายหนัก เบาไม่ได้ ประสาทสัมผัสรับความรู้สึกผิดปกติชั่วขณะ ไม่สามารถยก แบกของหนักได้ ทั้งนี้ให้ผู้ป่วยปรึกษาศัลยแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด อัตราความสำเร็จ ประเมินความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากศัลยแพทย์ได้
  • กายภาพบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น ช่วยให้อาการปวดทุเลาลง ป้องกันการได้รับบาดเจ็บ และช่วยฟื้นฟูการทำงานของร่างกาย เช่น การนวดหรือดัดข้อต่อ  และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกแตก
  • การฝังเข็ม จะช่วยลดอาการปวดหลังและปวดคอลงได้
  • การนวด จะช่วยให้อาการปวดหลังเรื้อรังทุเลาลงได้ชั่วขณะ
  • การโยคะ จะช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยปวดหลังน้อยลงได้
  • ไคโรแพรกทิค(Chiropractic) เป็นศาสตร์ใหม่ที่ไปจัดกระดูกสันหลังแล้วช่วยรักษาอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่าง

การรักษาทางเลือก มะโฮ

เบต้ากลูแคนจะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานอย่างรู้หน้าที่ ปรับระดับภูมิคุ้มกันให้ร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ  รักษาตัวเองตามธรรมชาติ  ลดอาการอักเสบ ปวด แสบร้อน ปรับสมดุลในร่างกาย ผู้ป่วยจะค่อยๆอาการดีขึ้นตามลำดับ สัปดาห์นับสัปดาห์ อ่านเบต้ากลูแคน มะโฮเพิ่มเติมที่นี่

คำแนะนำเพิ่มเติม ที่อยากให้ปฎิบัติมีดังนี้

-ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกำลังกาย จะช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงและยืดหยุ่น ไม่ควรทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงหรือรับแรงกระแทกมากเกินไป ทั้งนี้ควรออกกำลังกาย โดยจัดท่าให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
-ควบคุมน้ำหนัก เพราะน้ำหนักตัวมากจะทำให้เกิดแรงกดทับที่กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกมากขึ้น  ทำให้กระดูกสันหลังบริเวณส่วนล่างต้องแบกรับน้ำหนักตลอดเวลา ดังนั้นหากคุมน้ำหนักให้อยู่เกณณ์ปกติได้จะช่วยลดความเสี่ยง
-งดการสูบบุหรี่ เพราะมีผลทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้นกว่าปกติ และขาดความยืดหยุ่น

 

 

0 0 votes
Rating
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments